พ่อแม่ไม่ได้รังแกฉัน แต่ฉันรังแกตัวเอง

ที่มาของภาพ www.freepik.com

คนส่วนใหญ่คงเคยได้ยินแต่คำว่า “พ่อแม่รังแกฉัน” หมายถึงพ่อแม่เลี้ยงดูลูกดีเกินไปจนลูกทำอะไรไม่เป็น ลูกไม่มีภูมิคุ้มกันในชีวิต สุดท้ายลูกมีปัญหาเพราะเข้ากับสังคมไม่ได้ หรือรับแรงกดดันในชีวิตไม่ได้ เพราะไม่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาชีวิตด้วยตัวเอง
แต่เรื่องที่จะนำมาแบ่งปันนี้ เป็นอีกมุมหนึ่งของปัญหาสังคมที่อาจจะไม่ได้เกิดจากพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าจะมีปัญหาแบบนี้ เรื่องมีอยู่ว่า พ่อแม่มีลูกคนเดียว พ่อแม่เลี้ยงลูกได้ดีมากๆ ไม่ถึงกับตามใจทุกเรื่อง แต่ก็ไม่ได้ไปครอบครองชีวิตลูกอะไรมากมาย ถ้ามองจากภายนอกถือว่าครอบครัวนี้เลี้ยงลูกได้ดีเลยทีเดียว
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ลูกคนเดียวได้รับความรักเต็มๆ ตั้งแต่เกิดมาเขาไม่เคยเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันเลย จนบางครั้งเขาถึงกับพูดเล่นๆกับพ่อแม่ว่า “ทำไมพ่อกับแม่ไม่ทะเลาะกันบ้างเลย” พ่อแม่รู้สึกงงๆที่ได้ยินลูกพูดแบบนั้น แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร 
เด็กคนนี้เวลาไปเรียนหนังสือเพื่อนๆเขาทุกคนพูดว่า “เอ็งโชคดีวะที่ได้พ่อแม่ดี” ไม่เหมือนเราที่พ่อแม่ทะเลาะกันทุกวัน พ่อแม่มีปัญหากันบ่อยมาก คำพูดแบบนี้เองที่เกิดขึ้นบ่อยๆซ้ำๆจนเด็กคนนี้รู้สึก “ผิด” ที่ตัวเองเรียนไม่เก่ง รู้สึกผิดที่พ่อแม่ดีกับตัวเองมาก แต่ตัวเองไม่ได้ทำอะไรดีๆให้กับพ่อแม่เลย รู้สึกว่าทำไมตัวเองไม่ไปเกิดเป็นลูกคนที่พ่อแม่ดีน้อยกว่านี้ รู้สึกว่าตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยทำอะไรให้พ่อแม่ภูมิใจเลย ไม่เหมือนเพื่อนๆที่แม้ครอบครัวจะลำบาก เงินมาโรงเรียนแทบไม่มี แต่เพื่อนๆเหล่านั้นยังมีผลการเรียน มีผลการประกวดอะไรติดไม้ติดมือกลับไปอวดพ่อแม่ได้ตลอด แต่ตัวเองมีพร้อมทุกอย่าง แต่ทำอะไรไม่ได้ดีสักอย่าง
ความรู้สึกแบบนี้ค่อยๆเกิดขึ้นและฝังลึกลงไปในจิตใจเพิ่มมากขึ้นทุกๆวัน จนวันหนึ่ง เขารู้สึกเครียด กังวล พยายามหาทางออกด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง โดยที่พ่อแม่ไม่รู้ เป็นแบบนี้มาหลายปี แต่สุดท้ายพ่อแม่ก็มารู้ว่าลูกมีปัญหาทางจิตใจ แต่กว่าพ่อแม่รู้จิตใจของลูกก็ถูกกัดกินไปเยอะพอสมควร จนต้องพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะฟื้นฟูจิตใจของลูกคนนี้ให้กับมาสู่สภาวะปกติที่เลิกโทษตัวเองมากเกินไป 
เรื่องนี้ถือเป็นข้อคิดและคติเตือนใจของคนที่เป็นพ่อแม่ด้วยว่า แม้ว่าเราทำหน้าที่ของการเป็นพ่อแม่ดีแล้ว แต่อย่าลืมใส่ใจและประเมินสภาพจิตใจของลูกด้วยว่า “มีช่องว่างระหว่างเรากับเขาไหม” นั่นก็คือลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ดีเกินกว่าความสามารถของเขามากเกินไปไหม เพราะถ้าดีมากเกินไป เขาก็กดดัน เขาก็ทำไม่ได้ สุดท้ายเขาจะรู้สึกผิดเหมือนกรณีที่เล่ามาได้ อยากจะบอกว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่าคิดแค่ว่าเราเลี้ยงลูกดีแล้ว แต่ต้องดูว่าคำว่าดีของเรากับคำว่า “ดี” ของลูกเหมือนกันหรือปล่าว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่าง OKRs เพิ่มยอดขาย 10x

ตัวอย่างการกำหนด OKRs - ความพึงพอใจของลูกค้า

มารู้จัก MBO กันเถอะ