มารู้จัก MBO กันเถอะ
SPM-04
#MBOคืออะไรดียังไงยังเหมาะอยู่หรือไม่?
.............................................
MBO = Management By Objective
เป็นระบบการบริหารผลงานที่
เน้นการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก
ขององค์กรว่าแต่ละปีต้องการเน้นอะไร
หลังจากนั้นให้ทุกหน่วยงาน
กำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์องค์กร
ต่อมาก็ให้ทีมงานพนักงาน
กำหนดวัตถุประสงค์ของตัวเอง
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
สำหรับรายละเอียดว่าจะทำอะไร
ทำอย่างไร ทำเมื่อไหร่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ท่ีกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
แต่ละคนไปกำหนดกันเองและพูดคุยกับหัวหน้า
หรือผู้บังคับบัญชาเพื่อเห็นชอบร่วมกัน
เมื่อสิ้นสุดรอบการประเมิน
หัวหน้ากับลูกน้องก็มาพูดคุยกัน
เพื่อประเมินว่าวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
ซึ่งส่วนใหญ่ก็พิจารณาในภาพรวมๆ
มากกว่าที่จะลงรายละเอียดเรื่อง
ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลงาน แผนงาน
#ข้อดีของระบบMBO
🎯มีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก
🎯มีการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์หน่วยงานสู่วัตถุประสงค์องค์กร มีการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทีมงาน พนักงานสู่หน่วยงาน
🎯มีอิสระในการทำงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์
#ข้อจำกัดของMBO
💣ขาดการเชื่อมโยงในแนวนอนคือระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากแต่ละคนจะพยายามกำหนดวัตถุประสงค์ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของหน่วยงานตัวเอง
💣ขาดการกำหนดตัวชี้วัดผลงานที่จะบอกว่าวัตถุประสงค์ข้อนั้นๆบรรลุเป้าหมายจริงหรือไม่ และต้องใช้ดุลยพินิจในการประเมินมากเกินไป
💣ขาดการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทั้งองค์กรเข้าด้วยกันเพื่อบอกว่าถ้าวัตถุประสงค์ของทุกหน่วยงานทุกตำแหน่งงานบรรลุเป้าหมาย มั่นใจได้หรือไม่ว่าวัตถุประสงค์องค์กรบรรลุเป้าหมายได้จริง
💣องค์กรแบบไทยๆที่นำเอาระบบนี้เข้ามาใช้มักจะนำไปเชื่อมโยงกับการจ่ายผลตอบแทนระยะสั้น เช่น โบนัส หรือ MBO incentive รายไตรมาสหรือ 6 เดือน ทำให้การกำหนด MBO ตอบโจทย์ผลตอบแทนพนักงานมากกว่าไปตอบโจทย์วัตถุประสงค์องค์กร
#ปัจจุบันMBOยังใช้ได้อยู่หรือไม่
ขึ้นอยู่กับสถานะขององค์กรว่าเครื่องมือแบบ MBO ตอบโจทย์ขององค์กรหรือไม่ ถ้ายังตอบได้ก็ยังใช้ได้ ระบบ MBO เหมาะสำหรับองค์กรที่เป้าหมายหลักประจำปีขององค์กรชัดเจน เช่น บริษัทรับจ้างผลิตสินค้าให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ และคุณภาพของคนในองค์กรที่คุ้นเคยกับระบบการให้อำนาจ(Empowerment)ที่มีความรับผิดชอบในการคิดวางแผนและลงมือปฏิบัติจริงๆจังๆไม่ใช่แค่ทำเพื่อให้ MBO บรรลุเป้าหมาย
เราจะเห็นว่าองค์กรญี่ปุ่นหลายองค์กรยังใช้ระบบ MBO อยู่เพราะคุณภาพของคนของเขาคุ้นเคยกับกิจกรรม QCC, Suggestion, Kaizen หรือกิจกรรมต่างๆที่เป็นแบบ Bottom Up คนรู้จักคิด รู้จักทำ ไม่ตุกติกเพื่อให้ได้ผลงานที่ดูดีเท่านั้น
ต้องเชื่อว่าทุกระบบที่คิดค้นขึ้นมามีข้อดีเสมอ
ขึ้นอยู่กับว่าข้อดีนั้นเหมาะสมกับยุคสมัย เหมาะสมกับองค์กรไหนเท่านั้นเอง
ณรงค์วิทย์ แสนทอง
#StrategicPerformanceConsultant
#MBOคืออะไรดียังไงยังเหมาะอยู่หรือไม่?
.............................................
MBO = Management By Objective
เป็นระบบการบริหารผลงานที่
เน้นการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก
ขององค์กรว่าแต่ละปีต้องการเน้นอะไร
หลังจากนั้นให้ทุกหน่วยงาน
กำหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์องค์กร
ต่อมาก็ให้ทีมงานพนักงาน
กำหนดวัตถุประสงค์ของตัวเอง
ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
สำหรับรายละเอียดว่าจะทำอะไร
ทำอย่างไร ทำเมื่อไหร่ให้บรรลุวัตถุประสงค์
ท่ีกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน
แต่ละคนไปกำหนดกันเองและพูดคุยกับหัวหน้า
หรือผู้บังคับบัญชาเพื่อเห็นชอบร่วมกัน
เมื่อสิ้นสุดรอบการประเมิน
หัวหน้ากับลูกน้องก็มาพูดคุยกัน
เพื่อประเมินว่าวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
ซึ่งส่วนใหญ่ก็พิจารณาในภาพรวมๆ
มากกว่าที่จะลงรายละเอียดเรื่อง
ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลงาน แผนงาน
#ข้อดีของระบบMBO
🎯มีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก
🎯มีการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์หน่วยงานสู่วัตถุประสงค์องค์กร มีการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทีมงาน พนักงานสู่หน่วยงาน
🎯มีอิสระในการทำงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์
#ข้อจำกัดของMBO
💣ขาดการเชื่อมโยงในแนวนอนคือระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากแต่ละคนจะพยายามกำหนดวัตถุประสงค์ให้เชื่อมโยงกับเป้าหมายของหน่วยงานตัวเอง
💣ขาดการกำหนดตัวชี้วัดผลงานที่จะบอกว่าวัตถุประสงค์ข้อนั้นๆบรรลุเป้าหมายจริงหรือไม่ และต้องใช้ดุลยพินิจในการประเมินมากเกินไป
💣ขาดการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทั้งองค์กรเข้าด้วยกันเพื่อบอกว่าถ้าวัตถุประสงค์ของทุกหน่วยงานทุกตำแหน่งงานบรรลุเป้าหมาย มั่นใจได้หรือไม่ว่าวัตถุประสงค์องค์กรบรรลุเป้าหมายได้จริง
💣องค์กรแบบไทยๆที่นำเอาระบบนี้เข้ามาใช้มักจะนำไปเชื่อมโยงกับการจ่ายผลตอบแทนระยะสั้น เช่น โบนัส หรือ MBO incentive รายไตรมาสหรือ 6 เดือน ทำให้การกำหนด MBO ตอบโจทย์ผลตอบแทนพนักงานมากกว่าไปตอบโจทย์วัตถุประสงค์องค์กร
#ปัจจุบันMBOยังใช้ได้อยู่หรือไม่
ขึ้นอยู่กับสถานะขององค์กรว่าเครื่องมือแบบ MBO ตอบโจทย์ขององค์กรหรือไม่ ถ้ายังตอบได้ก็ยังใช้ได้ ระบบ MBO เหมาะสำหรับองค์กรที่เป้าหมายหลักประจำปีขององค์กรชัดเจน เช่น บริษัทรับจ้างผลิตสินค้าให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ และคุณภาพของคนในองค์กรที่คุ้นเคยกับระบบการให้อำนาจ(Empowerment)ที่มีความรับผิดชอบในการคิดวางแผนและลงมือปฏิบัติจริงๆจังๆไม่ใช่แค่ทำเพื่อให้ MBO บรรลุเป้าหมาย
เราจะเห็นว่าองค์กรญี่ปุ่นหลายองค์กรยังใช้ระบบ MBO อยู่เพราะคุณภาพของคนของเขาคุ้นเคยกับกิจกรรม QCC, Suggestion, Kaizen หรือกิจกรรมต่างๆที่เป็นแบบ Bottom Up คนรู้จักคิด รู้จักทำ ไม่ตุกติกเพื่อให้ได้ผลงานที่ดูดีเท่านั้น
ต้องเชื่อว่าทุกระบบที่คิดค้นขึ้นมามีข้อดีเสมอ
ขึ้นอยู่กับว่าข้อดีนั้นเหมาะสมกับยุคสมัย เหมาะสมกับองค์กรไหนเท่านั้นเอง
ณรงค์วิทย์ แสนทอง
#StrategicPerformanceConsultant
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น